วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Audacity


Audacity
Audacity เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการตัดต่อ ควมคุม และตกแต่งเสียงที่มีความสามารถเกินตัวจริง  โดยสามารถจัดการเสียงกับไฟล์สกุล WAV, AIFF, MP3, และ OGG นอกจากนั้นตัวโปรแกรมยังเสริม Effect มาให้ตกแต่งเสียงได้อีกด้วย เป็น Open source โปรแกรมที่ทรงคุณค่าอีกตัวหนึ่งจริงๆ เมื่อผู้ใช้ทำการดาวโหลมาเสร็จสิ้นแล้วก็ทำการติดตั้งโดยวิธีติดตั้งนั้นก็ง่ายๆ โดยการดับเบิ้ลคลิก จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการติดตั้ง ให้ผู้ใช้งานทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ จนจบ
การเรียกใช้งานโปรแกรม Audacity โดยการดับเบิ้ลคลิกไอคอนของโปรแกรมบน Desktop จากนั้นก็จะเข้าตัวโปรแกรมดังรูป





รูป หน้าตาโปรแกรม Audacity  

ผู้ใช้งานเพียงแต่เปิดไฟล์เสียงจากนั้นก็ทำการตัดต่อและตกแต่งได้ตามต้องการ



คุณสมบัติของ Audacity

·         ฟรีโปรแกรม Open Source ใช้งานได้ฟรี ไม่มีลิมิต
·         รองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Mac OS, Linux/Unix
·         รองรับการ import ไฟล์ MP3, OOG, Wave และอื่นๆ อีก
·         รองรับการบันทึกเป็น MP3 แต่ต้องติดตั้งโปรแกรมฟรี เพิ่มเติมคือ LAME MP3 Encoder
·         บันทึก Live Audio
·         รองรับการ cut, copy, splice รวมทั้งการ mix เสียงด้วย
·         ปรับแต่งความเร็วของเสียงได้
·         ความสามารถเพิ่มเติมด้วย Plug-ins
·         สนใจ download Audacity ขนาดไฟล์ 2.1 MB


รูป icon โปรแกรม Audacity

รูป Icon โปรแกรม Avidemux

Digital library


ความหมายของห้องสมุดดิจิตอล
ห้องสมุดดิจิติล (Digital library) ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library) แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม   ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์
ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการ
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง
ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Data นั้น เรียกว่า Metadata หรือ Properties
ลักษณะของห้องสมุดดิจิตอล
      องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสารสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้
       1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า Digital object หรือเรียกว่า Collection of information objects ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว (Language – based, Image – based, Sound – based, Motion – based) จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repository) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูล (Server)
        2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
        3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
        4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
        5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
        6. มีวัฎจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิตอล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination) การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)
ความแตกต่างของห้องสมุดแบบเดิมและห้องสมุดดิจิตอล
        การทำงานของห้องสมุดแบบเดิมผู้ใช้จะมาใช้ทรัพยาสารนิเทศ  เช่นหนังสือ วารสาร   สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในสถานที่จัดเก็บทรัพยากรคือห้องสมุด  หรือใช้ค้นรายการบรรณานุกรมก่อนที่จะหาทรัพยากรที่ต้องการ เป็นห้องสมุดที่เน้นการมี Collection บริการภายในอาคารสถานที่
                        http://konzaz.blogspot.com/2010/07/digital-library.html

Win FTP

Win FTP Server เป็น Windows FTP Server Professional featuring ความเร็ว, ความน่าเชื่อถือและการปรับแต่ง เซิร์ฟเวอร์ที่มี Real - time ฟังก์ชันข้อมูลให้คุณตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ FTP ของคุณในเวลาจริงทำให้ตาบนเซิร์ฟเวอร์แต่ละผู้ใช้เชื่อมต่อไปและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขา มันมีประกาศตัวเลือก E-mail และ กิจกรรมการ โต้ตอบทำให้โปรแกรมตอบสนองกิจกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น การอัพโหลดไฟล์ หรือดาวน์โหลดได้โดยส่ง E-mail แจ้งค่าเริ่มต้นเป็นผู้ดูแลระบบ FTP โดยอัตโนมัติ มีชุดของเครื่องมือขั้นสูง ( IP Watcher , Hit - O - Meter, update online Auto), Scrip สนับสนุน เพื่อให้ผู้ใช้ขยาย FTP Server by VZ! Script และ JavaScript นาม Virtual สำหรับไฟล์ร่วมกันได้ง่ายขึ้น และ Directory และอัตราส่วนระบบโควต้าดิสก์สำหรับการควบคุมเท่าใดผู้ใช้หรือกลุ่มภาพและดาวน์โหลด
                FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็น Protocol ที่สามารถใช้ในการส่งไฟล์ เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย  ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูก การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ FTP Server โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม Anonymous การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTP

การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ FTP
การดาวน์โหลด หรือย้ายไฟล์ในระบบ Internet มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถนำไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูลโดยผ่านโปรแกรม FTP สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายประเภท แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะต้องการใช้งานไฟล์ประเภทใด 
จุดเด่นสามารถนำไปใช้รวมกับระบบการการทำ Website เป็นช่องทางเก็บข้อมูลหรือส่งข้อมูลหาลูกค้า และ ภายในองค์กรได้
จุดด้อย เรื่องการเข้าไปใช้งานส่วนใหญ่จะเป็น 1User /1Password เลยเป็นการจำกัดวงของการเข้ามาใช้งานร่วมกัน
การเรียกโปรแกรม
ใช้คำสั่ง Start, Program, Ws_ftp, WS_FTP95 LE เพื่อเรียกใช้โปรแกรม ปรากฏจอภาพการทำงาน ดังนี้
คลิกที่ปุ่ม New เพื่อกำหนด Server ซึ่งจะปรากฏหน้าจอกำหนดค่า ดังนี้
  • กำหนดค่าเกี่ยวกับ Server และสิทธิ์ของผู้ใช้งาน
  • เช่น ถ้าเป็นผู้ใช้ในเครือข่าย SchoolNet ก็จะกำหนด ค่าดังนี้
  • ป้อนชื่อผู้มีสิทธิ์ใช้งานระบบ และรหัสผ่าน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK โปรแกรมจะติดต่อเข้ากับระบบ
  • ถ้าติดต่อเข้าระบบสำเร็จ จะปรากฏจอภาพทำงานดังนี้
การโอนถ่ายข้อมูล
จากจอภาพการทำงาน จะมีส่วนทำงาน 5 ส่วนหลัก คือ จอภาพแสดงข้อมูลเครื่องต้นทาง (Local System), จอภาพแสดงข้อมูลเครื่องปลายทาง (Remote System), ส่วนแถบเมนูคำสั่ง, ส่วนแสดงสถานะ, และส่วนควบคุมการโอนข้อมูล
  • เลือกโฟลเดอร์ต้นฉบับจากส่วนข้อมูลต้นทาง โดยคลิกที่ปุ่มลูกศรสีเขียว เพื่อเปลี่ยนโฟลเดอร์
  • เลือกโฟลเดอร์ของส่วนปลายทาง สำหรับสมาชิกเครือข่าย SchoolNet จะต้องใช้โฟลเดอร์ชื่อ www
  • เลือกไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่มลูกศรชี้ไปด้านขวา ในส่วนปุ่มโอนถ่ายข้อมูล เพื่อส่งข้อมูล
  • ทำซ้ำไฟล์ที่เหลือ
อ้างอิง    http://www.xxxstep.com/thread-253-1-1.html
                http://pirun.ku.ac.th/~g5166069/article2.html